การทดสอบและตรวจสอบรถเครน รถเฮี๊ยบ
ปั้นจั่น หมายความว่า เครื่องจักรที่ใช้ยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่ง และเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ
ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ หมายความว่า ปั้นจั่นที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดอยู่บนยานพาหนะที่ขับเคลื่อนได้
ปจ.2 คือ ปั้นจั่นหรือนิยมเรียกกันว่าเครน ปจ. นั้นย่อมาจาก ปั้นจั่น แต่ในกฎหมายไทยนั้นไม่สามารถจะใช้คำที่เป็นทับศัพท์ภาษาอังกฤษได้จึงได้นิยามเครนว่าปั้นจั่น
กฎหมายระบุว่าต้องทำการ ตรวจ ปจ.2 ตามที่กฎหมายกำหนดและให้วิศวกรเซ็นต์รับรองความปลอดภัยตามแบบตรวจ ปจ.2 ของกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน
ปั้นจั่น ปจ.2 จะยกตัวอย่างให้พอเห็นภาพว่ามีอะไรบ้างดังนี้
Rough Terrian Crane
All Terrain Cranes
Crawler Crane
Truck Crane
Boom Truck,Vehicle Loading,Truck Loader Crane
กฎหมายระบุความถี่ในการตรวจปั้นจั่นไว้ดังนี้
1.ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง
- พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
- พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
2.ปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่น ๆ
- พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ตั้งแต่ 1 ตัน ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 1 ปี
- พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
- พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
3.ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยก
4.ปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนหรือซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัย ให้ทดสอบใหม่ก่อนการใช้งาน
ตรวจเครน
ขั้นตอนการตรวจสอบ และ การเตรียมตัวก่อนตรวจปั้นจั่น ปจ.2
น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบเครน หรือปั้นจั่นตามกฎหมาย
วิศวกรต้องทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่น ตามอายุการใช้งาน
1.ปั้นจั่นใหม่
- ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.25 เท่าของพิกัดยกอย่างปลอดภัย
- ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตันจากพิกัดยกอย่างปลอดภัย
2.ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว
- ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด โดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
- กรณีที่ปั้นจั่นไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกในการทดสอบ