ภาชนะรับแรงดัน

ภาชนะรับแรงดัน (Pressure Vessel)

ภาชนะรับความดัน ตามความหมายของ กฎกระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อไอน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน และภาชนะแรงดันในโรงงาน พ.ศ. 2549  คือ “ภาชนะปิดที่มีความกดดันภายในภาชนะและภายนอกภาชนะแตกต่างกันมากกว่า 1.5 เท่าของความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเลและมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 103 มิลลิเมตร “ 
          ความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเล 1 บรรยากาศ หรือ 1 atm( atmosphere) หรือเรียกว่า 1 บาร์ (bar) ถ้าอุปกรณ์ที่ต้องตรวจก็ต้องเป็นภาชนะที่ใช้แรงดัน 1.5 bar ขึ้นไปและมีขนาด 103 mm. 

ภาชนะรับแรงดันส่วนใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรม ที่พบ เป็น ถังลม(อุปกรณ์นิวแมติกส์) ถังอ๊อกซิเจน(งานเชื่อม ตัด) ถังไนโตรเจน(งานถนอมอาหาร งานตัด) ถังแอมโมเนีย (ระบบทำความเย็น) ซึ่งถังเหล่านี้มีอายุการใช้งานเนื่องจากการถูกกัดกร่อนจากแรงดัน ความชื้น เป็นต้น จึงต้องมีการตรวจสอบและทดสอบ

ทั้งนี้รอบการทดสอบและตรวจสอบควรดูจากคู่มือของผู้ผลิตถังหรือถ้าไม่มีคู่มือให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของวิศวกร โดยอย่างน้อยควรทำการทดสอบปีละ 1 ครั้ง

การตรวจสอบภาชนะรับแรงดัน ขั้นแรกทำการวัดความหนาเพื่อคำนวณการรับแรงดันของถังว่าความหนาเหลือเท่าไร กัดกร่อนเท่าไร อายุการใช้งานเหลือเท่าไร และต้องกระทำก่อนการอัดน้ำหรือ hydrostatic test เพราะต้องอัดแรงดันไปถึง 1.5 เท่าของแรงดันใช้งาน หลังจากนั้นตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น safety valve , pressure gauge ถ้าชำรุดหรือเสียก็จำเป็นต้องเปลี่ยน

ภาชนะรับแรงดันที่มีใช้ส่วนใหญ่

ถังลม (Air Tank)

หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ (Autoclave)

ปั๊มลม (Air Compressure)